สารอะฟลาทอกซินมีอันตรายต่อคนและสัตว์ที่อาจทำให้เสียชีวิตได้ ซึ่งอันตรายจากความเป็นพิษของอะฟลาทอกซินนั้นมีแบบทั้งที่เป็นชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง ซึ่งในบทความนี้จะพูดเรื่องอันตรายของสารพิษอะฟลาทอกซิน
ประวัติของสารพิษอะฟลาทอกซิน
สารพิษอะฟลาทอกซินถูกพบครั้งแรกใน ค.ศ. 1961 โดยที่สารพิษดังกล่าวถูกปนเปื้อนอยู่ในกากถั่วลิสงที่นำเข้าจากบราซิล ซึ่งมีการปนเปื้อนในปริมาณที่สูงมาก จนทำให้ไก่งวงในประเทศอังกฤษกว่าแสนตัวที่กินอาหารผสมกากถั่วดังกล่าวล้มปี ค.ศ. 1960
โดยตอนนั้นยังไม่รู้จักสาเหตุของการตาย จึงตั้งชื่อโรคว่า X (เอ็กซ์) ในการเรียกชื่อโรค (Turkey “X” disease) ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นโรคที่เกิดจากความเป็นพิษของสารอะฟลาทอกซิน
อันตรายจากอะฟลาทอกซิน
อะฟลาทอกซินจัดเป็นสารพิษพวก carcinogen คือสารที่ก่อให้เกิดการกลายพันธุ์และสารก่อมะเร็งเป็นพิษต่อตับ ทำให้เกิดตับอักเสบ ตับแข็ง เนื้องอกในตับ และมะเร็งที่ตับ
ความเป็นพิษของอะฟลาทอกซินนั้นมีแบบทั้งที่เป็นชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง โดยอาการเฉียบพลันนั้นจะพบเลือดคลั่งในตับ ตับมีไขมันสะสมเพิ่มมากขึ้นจนเกิดเป็นตับแข็งและตาย
ส่วนแบบชนิดเรื้อรังนั้นพบว่าสัตว์จะเจริญเติบโตช้า มีอาการเบื่ออาหาร เชื่องซึมน้ำหนักตัวลดลง สัตว์ที่กำลังให้นม ปริมาณน้ำนมนั้นจะลดลง สัตว์ที่กำลังออกไข่จำนวนไข่จะลดลงและอาจจะเกิดมะเร็งที่ตับได้
โดยความเป็นพิษจะมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับปริมาณสารพิษที่ได้รับ ความถี่ของการได้รับเข้าสู่ร่างกาย อายุ เพศ ชนิดพันธุ์สัตว์ และสภาวะการทำงานของเอมไซม์ในตับ
อะฟลาทอกซินที่มีผลต่อคน
กรณีศึกษาในประเทศอินเดีย ในปี พ.ศ.2517 ได้เกิดการระบาดของโรคตับอักเสบที่เกดจากพิษของอะฟลาทอกซินขึ้นใน 150 หมู่บ้าน ที่อยู่รัฐทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย มีผลทำให้มีคนเสียชีวิตจำนวน 397 คน และล้มป่วยอีก 108 คน
ชาวบ้านที่ล้มป่วยแสดงอาการไข้ขึ้นสูง ตัวเหลืองหรือดีซ่านและท้องมาน ผลจากการชันสูตรคนและสุนัขที่ตายพบว่า เนื้อเยื่อตับถูกทำลาย เส้นเลือดในตับอุดตัน และท่อน้ำดีบวม
ผลจากการวิเคราะห์ข้าวโพดที่ชาวบ้านใช้กินช่วงเกิดโรคนั้น มีการค้นพบสารอะฟลาทอกซินอยู่ในระหว่าง 2,500-15,000 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม แสดงว่าชาวบ้านมีการบริโภคอะฟลาทอกซินสูงถึง 2-6 มิลลิกรัมต่อวัน ติดต่อกันหลายวัน
การติดตามอาการผู้ป่วยที่รอดชีวิตในระยะเวลา 10 ปี พบว่าผู้ป่วยนั้นสามารถฟื้นสภาพได้เป็นปกติ
อะฟลาทอกซินที่มีต่อสัตว์
ความเป็นพิษของอะฟลาทอกซินต่อสัตว์นั้น ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยตั้งแต่ ชนิด สายพันธุ์ เพศ อายุ ปริมาณและระยะเวลาที่ได้รับพิษ รวมถึงสภาพแวดล้อมและโภชนาการที่สัตว์ได้รับ โดยทั่วไปสัตว์ที่มีอายุน้อยจะมีความว่องไวต่อพิษ มากกว่าสัตว์ที่มีอายุมากขึ้น
ในกรณีที่จะเปรียบเทียบลูกเป็ดซึ่งเป็นสัตว์ปีกกับลูกสุกรที่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมนั้น ลูกสุกรมีความไวต่อสารอะฟลาทอกซินมากกว่า
ความเป็นพิษเฉียบพลัน ในสัตว์ที่ได้รับอะฟลาทอกซินในปริมาณมาก ในระยะเวลาอันสั้น ส่วนใหญ่จะมีพยาธิสภาพคล้ายกัน คือ มีจุดเลือดออกในอวัยวะภายใน ตับถูกทำลาย ท่อน้ำดีบวม ตับโตและบวมน้ำ สัตว์จะมีอาการซึม เบื่ออาหาร น้ำหนักลด หมดแรง และมักจะตายภายใน 72 ชั่วโมง
ในกรณีที่สัตว์ได้รับสารอะฟลาทอกซินในปริมาณที่ต่ำกว่าที่จะทำให้ตาย แต่มีการรับสารพิษอย่างต่อเนื่องนั้นเป็นเวลานาน จะทำให้สัตว์มีการเจริญเติบโตที่ลดลง ประสิทธิภาพในการใช้อาหารต่ำลง ภูมิคุ้มกันบกพร่องและสรรมรรถนะในการสืบพันธุ์ลดลง สัตวที่แสดงอาการเหล่านี้มักพบอาการตับแข็งและมะเรงในตับ
วิธีป้องกันการปนเปื้อนและการทำลายเชื้อราในอาหารสัตว์
วิธีลดการปนเปื้อนและการเข้าทำลายของเชื้อราในอาหารสัตว์ สามารถแบ่งออกเป็น 4 วิธี คือ
1.วิธีทางฟิสิกส์และกายภาพมีดังนี้
- คัดเอาเมล็ดพืชที่แตกและมีเชื้อราออก
- ทำให้สุกโดยการนึ่ง คั่ว อบ การคั่ว
- การใช้รังสี คือ อุลตราไวโอเลตซึ่งจะอยู่ในแสงแดด โดยการนำไปตากแดด
- การใช้สารดูดซับ เช่น ดิน เบนโธไนท์ ซิโอไลท์ ฟิลโลซิลิเกต หรือเอสเอสซีเอเอส เป็
- สารดูดซับเชื้อราโดยเฉพาะอะฟลาทอกซินได้ดีมาก แต่ก็ต้องระวังเพาะสารเหล่านี้อาจดูดซับวิตามิน แร่ธาตุ และยาปฏิชีวนะได้ และยังมีสารดูดซับพวกอินทรีย์ที่สกัดมาจากโปรตีน
- การสกัดด้วยสารละลาย เช่น อาชีโตน คลอโรฟอร์ม เบนซิน
2.วิธีทางเคมี มีดังนี้
- ออกซิเดชั่น (Oxidation) เช่นสารคลอรอล (Clorox) ด่างทับทิบ พบว่าลดสารพิษอะฟลาทอกซินได้ แต่วิธีนี้ไม่เป็นที่นิยม
- รีดักชั่น (Reduction) เช่น ใช้โซเดียมโบโรฮไดด์ (Borohydried) ใช้ไม่ได้ในอาหารสัตว์
- ไฮดรอกซิเลชั่น (hydroxylation) ในปฏิกิริยาเป็นด่าง โดยใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์ แอมโมเนีย โซเดียมไบคาร์บอเนต ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ยังไม่สามารถทำได้
- แอมโมเนียชั่น (Ammoniation) โดยใช้แก็สแอมโมเนียและสารละลาย แอมโมเนียมไฮดรอกไซด์ 1-2 เปอร์เซ็น ซึ่งเป็นที่แพร่หลายมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา
สารเคมีอื่นๆ เช่น ฟอร์มาดีไฮด์ ในอาหารสัตว์ไม่ค่อยใช้เพราะเพิ่มมลภาวะ - สารเคมียับยั้งการการเกิดเชื้อรา
3.วิธีทางชีวภาพ โดยการอาศัยกระบวนการหมักวัตถุดิบอาหารสัตว์ด้วยเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆลงไป คาดว่าจะเป็นวิธีรักษาคุณค่าของสารอาหารไว้ได้มากที่สุด
4.ทางจุลินทรีย์ มีการนำจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์มาเสริมในอาหารสัตว์ในชื่อของโปรไบโอติก เมื่อเสริมในอาหารสัตว์แล้วสามารถขับสารพิษออกจากร่างกายสัตว์ได้
ปัญหาสารพิษอะฟลาทอกซินในถั่วลิสง
สารอะฟลาทอกซินในถั่วลิลงในประเทศเรานั้น ส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาหลังการเก็บเกี่ยวและไม่สามารถลดความชื้นได้ทันเวลาต่อการทำลายถั่วลิสงและการสร้างสารพิษของเชื้อรา ปัญหาสารอะฟลาทอกซินในกรณีถั่วลิสงอยู่ในระยะพัฒนาฝัก และเกิดผลกระทบอย่างรุนแรง
โดยเฉพาะช่วง30วันก่อนเก็บเกี่ยว เกิดการพัฒนาเนื้อเยื่อของฝักที่ไม่สมบูรณ์จึงเป็นช่องทางของเชื้อราที่อยู่ในดิน ให้เข้ามาทำลายได้ง่าย และยังมีกรณีที่ฝักถูกแมลงในดินเข้าทำลายก็จะเกิดเป็นช่องเชื้อราที่อยู่ในดินเข้ามาทำลาย
สามารถอ่านบทความเกี่ยวกับอะฟลาทอกซินในถั่วลิสงได้ที่ วิธีหลีกเลี่ยงอันตรายจากสารอะฟลาทอกซินในกระบวนการปลูกถั่วลิสง
และยังมีกรณีฝักแก่พร้อมจะเก็บเกี่ยวแต่ไม่เก็บเกี่ยว ทั้งนี้ก็เพราะว่าถั่วลิสงนั้นเมื่อแก่จัดถั่วจะแตกออก ช่องทางนี้เองที่เชื้อราจะเข้ามาทำลายได้
จึงขอสรุปว่าเชื้อราจะไม่สามารถเข้ามาทำลายถั่วลิสงได้ หากจัดการปัญหาการขาดน้ำ การทำลายของแมลงในดิน และการเก็บเกี่ยว