สารอะฟลาทอกซินนั้นมีความสำคัญอย่างมากที่คนปลูกถั่วลิสงจะต้องรู้จักและแก้ไข เพราะสารอะฟลาทอกซินนั้นเป็นอันตรายในทางตรงและทางอ้อม ฉะนั้นวันนี้เราจะมาพูดถึงการที่จะปลูกถั่วลิสงอย่างไรให้ไร้สารพิษอะฟลาทอกซิน
เนื้อหา
อะฟลาทอกซินเกิดในถั่วลิสงและพืชอื่นๆ
วิธีปลูกถั่วลิสงให้ปราศจากสารอะฟลาทอกซิน
ทำความรู้จักอะฟลาทอกซิน
อะฟลาทอกซินคือ เป็นสารพิษที่เกิดจากเชื้อราหลายชนิด แต่ชนิดที่มีความสำคัญนั้น คือ สารพิษที่เชื้อรา A. flavus (A. ย่อมาจาก Genus “Aspergillus” และ fla ย่อมาจากชื่อ “flavus”) สร้างขึ้นเมื่อมีอาหารและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
สามารถอ่านบทความเกี่ยวกับอะฟลาทอกซินได้ที่ ทำความรู้จักอะฟลาทอกซิน มีคุณสมบัติอย่างไร ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโต
ความอันตรายของอะฟลาทอกซิน
อะฟลาทอกซินจัดเป็นสารพิษพวก carcinogen คือสารที่ก่อให้เกิดการกลายพันธุ์และสารก่อมะเร็งเป็นพิษต่อตับ ทำให้เกิดตับอักเสบ ตับแข็ง เนื้องอกในตับ และมะเร็งที่ตับ ความเป็นพิษของอะฟลาทอกซินนั้นมีแบบทั้งที่เป็นชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง
สามารถอ่านข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายของสารอะฟลาทอกซินได้ทีี่ อันตรายจากสารพิษอะฟลาทอกซินที่มีต่อคนและต่อสัตว์
วิธีปลูกถั่วลิสงให้ปราศจากสารอะฟลาทอกซิน
1.ใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ เมล็ดไม่เหี่ยวย่น ไม่เป็นเชื้อรา ไม่มีกลิ่นเหม็นหืน การที่จะนำถั่วลิสงที่ไม่มีคุณภาพไปปลูกนั้นจะทำให้ได้ต้นถั่วที่เจริญเติบโตช้าและอ่อนแอ จุดนี้เองจะทำให้ถั่วลิสงถูกเข้าทำลายจากแมลงและเชื้อราได้ง่าย
หลังการกะเทาะเปลือกออกแล้วถ้าพบเมล็ดที่เป็นรา เมล็ดเน่า เมล็ดเสีย ควรทิ้งทันที ไม่ควรเก็บไว้บริโภคหรือเอาไว้เป็นอาหารให้สัตว์เด็ดขาด เพราะเหล่านี้ก่อให้เกิดสารอะฟลาทอกซินได้
2.เมื่อนำเมล็ดออกจากฝักแล้วควรนำไปปลูกทันที ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นานโดยเฉพาะเมล็ดพันธุ์ที่กะเทาะด้วยเครื่องกะเทาะ เพราะถ้าปล่อยไว้นานแล้วจะทำให้อัตราการงอกลงลดและยังทำให้เกิดสารอะฟลาทอกซินได้ง่าย
เมล็ดที่กะเทาะด้วยเครื่องจะเสื่อมสภาพการงอกได้ง่ายกว่าเมล็ดที่กะเทาะด้วยมือ ดังนั้นเมื่อกะเทาะเสร็จแล้วควรรีบนำไปปลูกโดยทันที
3.ไม่ควรปลูกซ้ำพื้นที่เดิมที่เคยปลูก ถ้าจะปลูกซ้ำพื้นที่เดิมควรปลูกพืชอื่นๆสลับกับการปลูกถั่วลิสง โดยพืชที่แนะนำให้ปลูกหมุนเวียนกับถั่วลิสงได้แก่ ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ข้าวฟ่าง ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ และข้าวโอ๊ต
4.ควรมีการบำรุงด้วยปุ๋ยมูลสัตว์เพราะในมูลสัตว์มีธาตุโบรอนมาก ถ้าหากขาดธาตุโบรอนแล้วจะทำให้เมล็ดกลวงและอ่อนแอต่อการเข้าทำลายของ A. flavus ก่อให้เกิดสารพิษอะฟลาทอกซินนั้นเอง
5.ก่อนปลูกควรคลุกเมล็ดด้วยไรโซเบียม ถ้าไม่ได้คลุกไรโซเบียมก่อนปลูก ต้นอาจอ่อนแอทำให้ถูกลำลายด้วยแมลงก่อให้เกิดเชื้อรา ไรโซเบียมนั้นมีส่วนในการสงเสริมการเจริญเติบโตของต้นถั่วลิสง ช่วยเพิ่มปริมาณไนโตรเจน
6.กรณีที่ไม่ได้คลุกไรโซเบี้ยมแนะนำให้โรยปูนขาวก่อนปลูก โดยเฉพาะในดินทรายและดินร่วนปนทรายควรที่จะโรยปูนขาว การขาดแคลเซียมจะทำให้แมลงเข้าทำลายและเกิดเชื้อรา
7.ในดินที่มีแคลเซียมต่ำควรใส่ยิปซัมเพื่อเพิ่มแคลเซียมและกำมะถัน โดยการโรยยิปซัมในแถวถั่วลิสงในปริมาณ 25-50 กิโลกรัมต่อไร่ ถ้าดินมีแคลเซียมต่ำมากแนะนำให้ใส่ 50-100 กิโลกรัมต่อไร่ โดยใส่ 20-30 หลังการปลูก
ถั่วลิสง(จัมโบ้)และดินที่แคลเซียมน้อย จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใส่ยิปซัม
8.ระยะ 30 วัน ก่อนเก็บเกี่ยวเป็นช่วงที่ถั่วลิสงไม่ควรขาดน้ำ เพราะถ้าขาดน้ำในช่วงนี้เป็นช่วงแห่งการพัฒนาเนื้อเยื่อของฝัก ถ้าขาดน้ำช่วงนี้จะทำให้การพัฒนาเนื้อเยื่อไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้แมลงและเชื้อราในดินเข้าทำลายถั่วลิสง
เมื่อแมลงเข้าทำลายถั่วลิสง ก็จะทำให้เกิดเชื้อราที่ก่อให้เกิดสารอะฟลาทอกซินได้
9.ไม่ควรปลูกถั่วลิสงต่อจากการปลูกข้าวโพดอาหารสัตว์ เพราะถั่วลิสงเป็นพืชที่เชื้อราเข้าทำลายในช่วงก่อนเก็บเกี่ยวได้ เพื่อเป็นการลดเชื้อราที่หลงเหลืออยู่ในแปลง จึงไม่ควรปลูกถั่วลิสงต่อจากข้าวโพดอาหารสัตว์
10.ไม่ควรให้ถั่วลิสงขาดน้ำในช่วงออกดอก ช่วงแทงเข้ม ช่วงพัฒนาการของฝัก เพราะการขาดน้ำในช่วงนี้ทำให้ต้นถั่วลิสงอ่อนแอ ส่งผลให้แมลงเข้าทำลายได้
สารแทนนินสามารถยับยั้งสารอะฟลาทอกซินได้โดยตรง
11.เมื่อพบแหล่งสะสมเชื้อราควรรีบกำจัด เช่น ซากต้นถั่วลิสง ซากต้นและฝักข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
12.การเก็บรักษาถั่วลิสงควรควบคุมอุณหภูมิและความชื้น ควรมีอุณหภูมิประมาณ 20 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65 เปอร์เซ็นต์
13.สำหรับเมล็ดที่ต้องการนำไปทำพันธุ์ควรตากให้ฝักแห้งดี โดยเก็บใส่ถุงพลาสติกปิดปากถุงให้แน่นไม่ให้มีอาการเข้า และไม่มีความชื้นจากข้างนอกเข้าไปได้ เก็บไว้ในที่สะอาดและแห้ง ทำแบบนี้จะสามารถเก็บถั่วได้นาน 8-10 เดือน และไม่ก่อให้เกิดเชื้อรา
14.ถ้าเป็นเมล็ดพันธุ์ที่แกะแล้วควรนนำไปเก็บไว้ในอุณหภูมที่เย็นประมาณ 10-5 องศาและมีความชื้นที่ต่ำ ถ้าเก็บไว้ในสภาพปกติ ไม่ควรเก็บเกินสามเดือนเพราะเสี่ยงต่อการเข้าทำลายของเชื้อรา ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดสารอะฟลาทอกซิน
การเก็บถั่วลิสงเพื่อบริโภคเพื่อทำอย่างอื่น ควรเก็บโดยที่ไม่ให้ถั่วลิสงสัมผัสกับออกซิเจน คือเก็บอย่างมิดชิด เมื่อออกวิเจนลดลงและคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น จะทำให้เชื้อราไม่เจริญเติบโต
15.ไม่ควรเก็บเมล็ดถั่วลิสงไว้เกิน 6 เดือน เพราะจะก่อให้เกิดสารพิษอะฟลาทอกซินได้
16.ควรเก็บถั่วลิสงในระยะที่แก่พอดี การเก็บในระยะที่แก่เกินไปหรืออ่อนเกินไปนั้นทำให้มีโอกาสเกิดเชื้อราได้มากกว่าระยะที่แก่พอดี
17.เมื่อนำฝักถั่วลิสงออกจากต้นควรตากทันทีหลังจากนำฝักออก โดยไม่ควรเกิน1-2วันหลังจากที่นำฝักออก และควรทำให้ฝักแห้งเร็วที่สุด ความชื้นประมาณ 7 เปอร์เซ็นต์ จะสามารถต้านทานต่อการเข้าทำลายของเชื้อราได้มากยิ่งขึ้น
สารแทนนินที่อยู่ในเยื่อหุ้มถั่วลิสงสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้โดยตรง
18.ไม่ควรให้แมลงเข้าทำลาย เพราะถ้าแมลงเข้าทำลายก็เท่ากับว่าช่วยเปิดทางให้เชื้อราเข้าไป การเข้าทำลายของแมลงยังทำให้ความชื้นในเมล็ดสูงขึ้นอีกด้วย ผลกระทบทั้งสองอย่างทำให้เกิดเชื้อราอะฟลาทอกซินได้
19.ถั่วลิสงพันธุ์ต้านนั้นสามารถดูดความชื้นให้อยู่ในระดับที่ไม่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของเชื้อราได้
20.ฤดูร้อนนั้นมีความชื้นน้อยกว่าฤดูฝน ฉะนั้นเลยทำให้ถั่วที่ปลูกในฤดูฝนนั้นมีความชื้นมากกว่าดังนั้นเมื่อจะนำถั่วลิสงไปทำพันธุ์ควรรีบนำไปตาก
สรุป
การจะปลูกถั่วลิสงให้ปราศจากสารอะฟลาทอกซินนั้นต้องไม่ให้ถั่วลิสงขาดน้ำจนเกินไป ไม่ควรขาดแคลเซียมในดินหรือในถั่วลิสง ต้องไม่มีแมลงเข้าทำลาย เก็บเกี่ยวถั่วในระยะที่แก่พอดี ตากถั่วเพื่อลดความชื้น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
อะฟลาทอกซินในถั่วลิสง:ข้อเสนอวิธีแก้ปัญหา