เมื่อได้ทำการเก็บเกี่ยวถั่วลิสงแล้ว จะต้องมีการเก็บรักษาถั่วลิสงเพื่อให้ได้ใช้ประโยชน์สูงสุดจากถั่วลิสง เพราะการเก็บรักษาแบบไม่มีคุณภาพนั้นอาจทำให้เสียคุณประโยชน์บางอย่างไป
ในบทความที่ผ่านมาได้พูดถึงเรื่องวิธีปลูกถั่วลิสงและการดูแลรักษาหลังการปลูกของถั่วลิสง บทความนี้จะพูดถึงการเก็บรักษาถั่วลิสง ซึ่งเป๋็นขัเนตอนที่ต่อการการปลูกและการดูแลถั่วลิสง
วิธีปลูก – การดูแลรักษาหลังการปลูกของถั่วลิสง – การเก็บรักษาถั่วลิสงหลังเก็บเกี่ยว – ทำความรู้จักโรคและศัตรูของถั่วลิสง การป้องกันกำจัด
เนื้อหา
1.ออกไปสุ่มถอนต้นถั่วลิสงจากแปลงมาประมาณ 4-5 ต้น เมื่อถึงกำหนดตามอายุของพันธุ์
นั้น เช่น ถ้าปลูกพันธุ์ไทนาน 9 ในฤดูฝน ซึ่งจะมีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 100 วัน
นับจากวันปลูกหรือวันที่ได้รับน้ำก็ไปถอนต้นแล้วแกะฝักที่แก่ที่สุดของแต่ละต้นดู ประมาณต้นละ 2-3 ฝัก
2.ถ้าพบว่ามีฝักแก่จัด 1-2 ฝัก โดยสังเกตดูว่าภายในเปลือกเป็นสีน้ำตาลหรือดำ แสดงว่าฝักนั้นแก่จัดแล้วจะต้องทำ การเก็บเกี่ยว เพราะว่าเป็นระยะที่เหมาะสมที่สุดที่จะได้ทั้งผลผลิตสูงและคุณภาพเมล็ดดีด้วย
3.ถ้าหากทุกต้นที่สุ่มถอนมานั้นยังไม่มีฝักที่แก่จัดเลย จะต้องรอไปอีกประมาณ 5-7 วัน จึงออกไปถอนต้นมาดูใหม่ อย่าเก็บเกี่ยวถั่วที่ยังไม่ถึงอายุเพราะจะได้ผลผลิตตํ่า หรืออย่าปล่อยถั่วทิ้งไว้ให้แก่เกินไป เพราะเมล็ดจะมีคุณภาพไม่ดี และอาจจะงอกคาต้นถ้าดินมีความชื้นมาก
4.ถ้าดินมีความชื้นพอเพียง การถอนจะทำได้สะดวก ไม่ควรปล่อยน้ำเข้าท่วมแปลงเพื่อให้ดินอ่อน เพราะจะทำ ให้ฝักถั่วที่เก็บได้มีความชื้นสูงมากเกินไป ถ้าการตากแดดทำได้
ไม่ดี จะมีปัญหาเรื่องเชื้อราเข้าทำลาย แล้วทำ ให้เกิดสารพิษอะฟลาท็อกซิน
หรือไม่ควรให้ถั่วลิสงขาดน้ำจนเกินไปก่อนเก็บเกี่ยวเพราะจะทำให้อ่อนแอ เชื้อราที่สร้างสารพิษที่มีอยู่จะ
เข้าทำลายได้ง่าย ถ้าการตากแดดไม่แห้งภายในเวลาสั้น ก็จะเกิดปัญหาเชื้อราทำ ลายรุน
แรงยิ่งขึ้น
5.เมื่อเก็บเกี่ยวถั่วเสร็จแล้วควรวางฝักผึ่งแดดในแปลง ไม่ควรกองสุมกันและควรรีบปลิดฝักทันทีเพื่อนำไปตากแดด ถ้ากองถั่วสุมกันขณะที่ฝักมีความชื้นสูงจะทำให้เกิดเชื้อราขึ้นได้ และถ้าเป็นเชื้อราสีเขียวเข้าทำลายฝักจะมีปัญหาเรื่องสารพิษอะฟลาท็อกซินซึ่งทำ ให้ผลผลิตเสื่อมคุณภาพและยังเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
การตาก
ควรตากถั่วลิสงที่ปลิดแล้วบนพื้นที่สะอาด เช่น บนเสื่อ สังกะสี หรือ พื้นซีเมนต์เพราะจะทำ ให้ฝักแห้งได้เร็วขึ้น เกลี่ยฝักให้กระจายบางๆ และควรใช้คราดไม้ช่วยพลิกกลับถั่วที่ตากไว้บ่อยๆ จะทำ ให้แห้งเร็วขึ้นและอย่างทั่วถึง
ถ้าแดดดีถั่วจะแห้งภายในเวลา 4-5วัน ถ้าแดดไม่ดีต้องหาวิธีทำ ให้แห้งโดยเร็วที่สุด เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาเชื้อราเขียวเข้าทำ ลายอย่างน้อยที่สุดการผึ่งและลมพัดผ่านสะดวกจะดีกว่าการเก็บกองหรือบรรจุถุง เพราะถ้าถั่วยังไม่แห้งจะเกิดเชื้อราขึ้นดังกล่าวมาแล้ว
การกะเทาะ
เมื่อถั่วแห้งดีแล้วให้นำมากะเทาะเปลือก ซึ่งทำได้หลายวิธี เช่น กะเทาะด้วยมือหรือด้วยเครื่องกะเทาะ การกะเทาะด้วยมือเสียเวลามาก แต่ได้เมล็ดถั่วที่มีคุณภาพดี ไม่แตกหักมาก และสามารถคัดเลือกเมล็ดเสียทิ้งไปได้เลย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมลด็ที่จะนำไปปลูกควรกะเทาะด้วยมือ
การกะเทาะด้วยเครื่องมือหมุนชนิดล้อยาง สามารถทำ ได้เร็วขึ้น แต่อาจมีปัญหาเรื่องเมล็ดแตกมาก และเมล็ดที่ได้มักจะมีผิวถลอกมาก ซึ่งเป็นสาเหตุให้เชื้อราเข้าทำลายได้ง่าย
ถ้ากะเทาะด้วยเครื่องหากจะใช้ปลูก ไม่ควรทิ้งเมล็ดไว้นานหลายวัน เพราะจะเสื่อมคุณภาพลงเรื่อยๆ
และควรคลุกเมล็ดที่กะเทาะด้วยเครื่องนี้ด้วยสารเคมีหรือไรโซเบี้ยมก่อนปลูก เพื่อป้องกันเชื้อราในดินเข้าทำลาย
การเก็บรักษา
การเก็บเมล็ดสำหรับทำพันธุ์ควรตากฝักให้แห้งดี แล้วเก็บบรรจุถุงพลาสติกปิดปากถุงให้แน่น เพื่อไม่ให้ความชื้นข้างนอกเข้าไปได้ ซึ่งจะทำให้เสื่อมคุณภาพเร็ว และควรเก็บไว้ในบริเวณที่สะอาดและแห้ง ถ้าปฏิบัติตามนี้แล้วจะสามารถเก็บถั่วไว้ได้นานถึง 8-10 เดือน
เมื่อจะปลูกจึงนำมากะเทาะด้วยมือ สำหรับเมล็ดถั่วลิสงที่กะเทาะแล้ว ถ้าจะให้คงคุณภาพดีจะต้องเก็บรักษาไว้ในห้องเย็นประมาณ 10-15 องศาเซลเซียสและความชื้นตํ่า
ถ้าเก็บไว้ในสภาพปกติทั่วไป เช่นเก็บไว้ในบ้านเรือน ถั่วลิสงที่กะเทาะเปลือกแล้วจะเสื่อมความงอกเร็วภายในเวลา 2-3 เดือนและเสี่ยงต่อการเข้าทำ ลายของเชื้อรา
การใช้ประโยชน์
เนื่องจากเมล็ดถั่วลิสงมีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีโปรตีนประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ และไขมันประมาณ 45-50 เปอร์เซ็นต์ จึงเหมาะสำหรับบริโภค การบริโภคน้ำมันจากพืชทำให้ร่างกายได้รับประโยชน์มากกว่านํ้ามันจากสัตว์
ถั่วลิสง 100 กรัมจะได้รับโปรตีน 25กรัม แป้ง 20กรัม พลังงาน 580แคลอรี่ ไขมัน 50กรัม วิตามินอีกหลายชนิดและแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น โปแทสเซี่ยม ฟอฟอรัส แมกนีเซี่ยม แคลเซี่ยม โซเดียมและเหล็ก เป็นต้น
ข้อคำนึง คือ ถ้าจะนำถั่วลิสงมาใช้ประโยชน์จะต้องใช้ถั่วลิสงที่มีคุณภาพดี นั่นคือจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำให้ถูกต้อง โดยเฉพาะการปฏิบัติในระยะหลังเก็บเกี่ยว ซึ่งจะทำให้ได้ถั่วที่ปราศจากสารพิษและปลอดภัยต่อการบริโภค
การนำถั่วลิสงไปใช้ประโยชน์ในแง่อุตสาหกรรมแปรรูปต่างๆ เช่น ทำนํ้ามันปรุงอาหาร ทำ เนยถั่วลิสง เนยเทียม ถั่วต้ม ถั่วทอด ถั่วเคลือบ ถั่วแผ่น นมถั่วลิสง แป้ง โปรตีนถั่ว
และอาหารคาวหวานอีกหลายชนิด กากถั่วลิสงที่เหลือจากการบีบนํ้ามันแล้วยังสามารถนำ ไปใช้ในอุตสาหกรรมทำอาหารสัตว์ได้อีกด้วย
ต้นถั่วลิสงที่เหลือจากการปลิดฝักแล้ว เมื่อนำ ไปตากแดดก็สามารถเก็บไว้ใช้เลี้ยงสัตว์ได้ด้วยเพราะมีโปรตีนประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ หรือนำไปทำปุ๋ยหมักหรือไถกลบลงในดิน ก็จะเป็นปุ๋ยได้อย่างดี เปลือกถั่วลิสงที่เหลือจากการกะเทาะสามารถนำไปใช้คลุมดินหรือผสมกับดินเพื่อทำ ให้ดินร่วนซุยขึ้น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
เอกสารแนะนำที่3/2557 การปลูกถั่วลิสง
การปลูกถั่วลิสงไม่ใช้น้ำ
เทคโนโลยีเพิ่มผลผลิตถั่วลิสง